ติดตามสถานการณ์ covid-19 แบบรายวัน
> ข้อมูลประวัติ > ข้อมูลสภาพทั่วไป > อำนาจหน้าที่ > นโยบายผู้บริหาร > วิสัยทัศน์เทศบาล > แหล่งท่องเที่ยว > ผลิตภัณฑ์ชุมชน > ติดต่อเรา |
> คณะผู้บริหารเทศบาล > สมาชิกสภาเทศบาล > หัวหน้าส่วนราชการ > สำนักปลัด > กองคลัง > กองช่าง > กองการศึกษา > กองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม > หน่วยตรวจสอบภายใน |
> ประกาศใช้งบประมาณ > เทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี พ.ศ.2564 > เทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี ย้อนหลัง |
> กิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ พ.ศ.2562 > หลักเกณฑ์การคัดแยกขยะ มูลฝอย พ.ศ.2562 > ควบคุมการเลี้ยงและปล่อย สุนัขและแมว พ.ศ.2563 |
> กฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ > พรบ. / พรก. > ระเบียบ คำสั่ง หนังสือสั่งการ > ประกาศเทศบาลตำบลบุญเรือง |
ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
link ระบบสารสนเทศ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
งานทะเบียนราษฎร
สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลบุญเรือง
การแจ้งเกิด
1. คนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้าน หรือบิดา-มารดา แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
2. คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ที่พึงจะแจ้งได้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเกิด
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง หรือ
- บัตรประจำตัว บิดา-มารดา (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
การแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หลักฐานประกอบการแจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัว บิดา-มารดา
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
- รูปถ่ายหน้าตรง 2 x 3 นิ้ว จำนวน 2 รูป
- พยานบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน
การแจ้งตาย
1. คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย กรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชม.นับแต่เวลาพบศพ
2. คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพ แล้วแต่กรณีหรือแห่งท้องที่ที่พึงจะแจ้งได้ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
- เรียกและตรวจสอบบัตรประจำตัวผู้แจ้ง
- หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อ และรายการบุคคล (ถ้ามี)
การแจ้งย้ายที่อยู่
1. การแจ้งย้ายออก ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก
หลักฐานประกอบการแจ้ง
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่แจ้งย้ายออก
- ตรวจสอบรายการบุคคลที่แจ้งย้ายออก
2. การแจ้งย้ายเข้า ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีผู้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน
หลักฐานประกอบการแจ้ง
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่แจ้งย้ายเข้า
- ตรวจสอบใบแจ้งย้ายที่อยู่ ทร.6 ตอนที่ 1,2
3. การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ย้ายไปอยู่ใหม่
หลักฐานประกอบการแจ้ง
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้านที่เข้าไปอยู่ใหม่
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งย้าย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า
- หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน
- เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 20 บาท
4. การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
หลักฐานประกอบการแจ้ง
- กรณีเอกสารหลักฐานมาแสดง ตรวจสอบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ผู้แจ้งย้ายเป็นคนเดียวกันกับบุคคลที่มีชื่อและรายการในทะเบียนบ้านกลาง
- กรณีไม่มีเอกสารราชการมาแสดง ให้สอบสวนพยานบุคคล เพื่อให้ยืนยันรับรองว่า ผู้ขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง เป็นบุคคลคนเดียวกันกับชื่อและรายการที่ปรากฏในทะเบียนบ้านกลาง
- เมื่อตรวจสอบหลักฐาน หรือสอบพยานบุคคลเป็นที่น่าเชื่อถือก็ให้ดำเนินการแจ้งย้ายออก
การขอแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
เอกสารการทะเบียนราษฎร ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สูติบัตร มรณบัตร หากมีรายการที่ไม่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริง สามารถร้องขอให้นายทะเบียนแก้ไขรายการให้ถูกต้องได้ ดังนี้
หลักฐานประกอบการแจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำร้อง
- เอกสารการทะเบียนราษฎรที่ขอแก้ไข ได้แก่ สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนบ้าน ฯลฯ
- เอกสารที่ทางราชการออกให้
การรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน
บ้าน หมายถึง โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ประกอบการซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง ให้ทุกบ้านมีเลขหมายประจำบ้าน บ้านใดที่ยังไม่มีเลขหมายประจำบ้าน
ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อขอเลขหมายประจำบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่บ้านสร้างเสร็จ
การขอเลขหมายประจำบ้าน
หลักฐานประกอบการแจ้ง
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำร้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ยื่นคำร้อง
- ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร (กองช่างออกให้)
- หนังสือรับรองอาคาร (กองช่างออกให้)
- หลักฐานการแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้าง กรณีบ้านเก่า เช่น โฉนดที่ดิน/สัญญาซื้อขาย
สัญญาเช่า (ถ้ามี)
ดาวน์โหลดแบบคำร้อง
* ปัจจุบันแบบฟอร์มต่างๆ ได้จัดพิมพ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ของสำนักทะเบียน ผู้ขอรับบริการ เพียงแต่นำบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด และทะเบียนบ้าน (ทร.14) ฉบับจริง ไปติดต่อขอรับบริการ